วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3‎ ‎ หน่วยที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งสามารถเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ลักษณะการทำงานภายในฮาร์ดแวร์เราสามารถแบ่งออกเป็น 4 หน่วย คือ


1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
       เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลและคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้งาน โดยป้อนข้อมูลผ่านอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ได้แก่ เมาส์ แป้นพิมพ์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน


1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        ทำหน้าที่ประมลผลข้อมูล ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคนเรา ที่มีหน้าที่คิดคำนวณและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

1.3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
       เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล คำสั่ง ที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล และผลลัพธ์ต่างๆ ที่ได้จากการประมวลผล

1.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
       เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ผ่านอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลได้ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง เป็นต้น


คำถามชวนคิด : แรม (RAM) กับ รอม (ROM) ต่างกันตรงไหนครับ

คำถามนี้มีคำตอบ :
       แรม (RAM) กับ รอม (ROM) เหมือนกันที่ เป็นหน่วยความจำมีไว้เก็บข้อมูล จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีความแตกต่างกันคือ แรม (RAM) สามารถเขียนและอ่านข้อมูลได้แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยวอยู่ตลอดเวลา หากไฟดับข้อมูลที่อยู่ระหว่างการประมวลผลจะหายไป ส่วน รอม (ROM) ไม่จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงก็สามารถเก็บข้อมูลได้ แต่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกเพิ่มเติมได้



2. ซอฟต์แวร์ (Software)
         ซอฟต์แวร์ บางครั้งเรียกว่า โปรแกรม หรือ ชุดคำสั่ง ที่เขียนขั้นมาเพื่อสั่งให้อาร์ดแวร์ทำงานต่างๆ ตามความต้องการ ถ้าไม่มีซอฟร์แวร์เราก็จะไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
      คือ โ)รแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างให้สามารถทำงานอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์ระบบที่เป้นที่รู้จักกันดี คือ Dos, Windows, Unix, Linux เป็นต้น



2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
      คือ โปราแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้ใช้ต้องการ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุต์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft PowerPoint, Paint, Internet Explorer และเกมต่างๆ


3. บุคลากร (Peopleware)
       หมายถึง บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับคอมาพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกบคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานหรือสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager)
       คือ ผู้กำหนดนโยบายการใช้โปรแกรมหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย



3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
      คือ ผู้ที่มีหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์ระบบ เพื่อดูความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับระบบงานภายในองค์กร




3.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
      คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานตามความต้่องการของผู้ใช้ โดยจะเขียนตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้วางไว้





3.4 ผู้ใช้ (User)
     คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ต้องรู้วิธีการใช้เครื่อง และใช้งานโปรแกรม เพื่อให้สามารถทำงานตามที่ต้องการได้







4. ข้อมูลและสารสนเทศ(Data and Information)
       ข้อมูลสารสนเทศ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผล ซึ่งคอมพิวตเอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ถ้าชข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้

       
       ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จาการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือเสียง เืพ่อให้ระบบคอมพิวตอร์ทำการประมวลผลให้ได้สารสนเทศ

       สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งในบางครั้งสารสนเทศอาจจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้



5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
       กระบวนการทำงาน เป็นขึ้นตอนที่ผู้ใช้ต้องทำตาม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ และในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ สิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่ง คือ ผู้ใช้ทุกคนจะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในตู้ ATM
       การใช้เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เพื่อถอนเงิน มีกระบวนการทำงาน ดังนี้

        
       ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ปกติจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน ดังนั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องศึกษาหรือมีคู่มือประกอบการใช้งาน เพื่อให้สามารถทำงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ




บิต (BIT) กับ ไบต์ (BITE) อะไรใหญ่กว่ากันนะ

       คอมพิวเตอร์ก็มีหน่วยในการวัดเหมอืนกับเครื่องชั่งหรือเครื่องวัดทั่วๆ ไป หน่วยคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ใช้กันคือ บิต และ ไบต์ ซึ่งใช้บอกปริมาณข้อมูลที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์

       บิต (BIT) คือ หน่วยนับที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ บิตถูกแสดงผลได้โดยใช้เลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น ทุกครั้งที่เรากดปุ่มบนแป้นพิมพ์ จะมีสัญญาณขนาด 1 บิตส่งข้อมูลออกไปและบันทึกผลในคอมพิวเตอร์

       ไบต์ (BITE) ใน 1 ใบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หนึ่งตัวอักษรของภาษาอังกฤษ ภาษาไทยหรือตัวเลขหนึ่งตัว ต้องใช้ 1 ไบต์ ่วนตัวอักษรเกาหลีหรือจีนจะใช้ 2 ไบต์ การเขียนบอกหน่วยเหล่านี้ ไบต์จะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ B ส่วนบิตจะใช้ตัวพิมพ์เล็ก b คราวนี้ เราคงทราบคำตอบแล้วนะครับว่าบิตกับไบต์อะไรใหญ่กว่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น